วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

BASHING คนดีที่ไร้แผ่นดิน


ยูโกะ  หญิงสาวชาวญี่ปุ่น ที่เป็นอาสาสมัครไปช่วยเพื่อนมนุษย์ที่ได้รับผลจากสงครามที่อิรัก แต่แล้วเธอกลับถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายจับเป็นตัวประกันในระหว่างปฏิบัติหน้าที่

     ครอบครัวและเพื่อนร่วมชาติเตรียมอกเตรียมใจไว้แล้วว่า หญิงสาวคงจะถูกฆ่าตายเหมือนตัวประกันหลายต่อหลายรายที่เคยตกเป็นข่าว    ...แต่ก็เปล่า
6 เดือนหลังจากนั้น ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น ยูโกะ รอดชีวิตและถูกส่งตัวกลับบ้านเกิด ก่อนกลับบ้าน ยูโกะคงจะคาดหวังอะไรไว้หลายอย่าง เธอคงรู้สึกขอบคุณพระเจ้าหรือใครก็ตามที่อนุญาตให้เธอยังมีชีวิตอยู่ และเธอคงจะฝันถึงอนาคตงดงามที่รอคอยเธออยู่ที่บ้านเกิด

     อย่างไรก็ตาม เพียงไม่นานหลังกลับถึงบ้าน หญิงสาวก็ตระหนักว่า สิ่งที่เคยคาดเคยฝันไว้นั้นผิดทั้งหมด ที่ญี่ปุ่นแผ่นดินเกิดของเธอเอง แทบไม่มีใครสักคนแสดงความยินดีที่ยูโกะยังมีชีวิตอยู่  ตรงกันข้าม ใครต่อใครเห็นตรงกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางนั้น ยูโกะ แส่หาเรื่องเอง เธอไม่สมควรไปที่นั่นแต่แรก เพราะรัฐบาลก็ประกาศเตือนอยู่แล้ว และการที่ยูโกะรอดตายก็ได้สร้างความอับอายแก่ประเทศชาติ ทุกคนลงความเห็นว่ายูโกะทำให้ประเทศชาติต้องด่างพร้อย และยังพลอยทำให้เพื่อนร่วมชาติต้องขายขี้หน้าคนชาติอื่นไปด้วย


เลวร้ายกว่านั้น ยูโกะถูกก่นด่าประณาม ถูกโทรศัพท์ลึกลับก่อกวนรังควาญ มีเพียงบิดาของเธอที่เข้าใจและสนับสนุนเธอ แต่คน 2 คนไม่สามารถสู้เสียงคนหมู่มากในชุมชนได้ และ วันหนึ่งเจ้านายก็เรียกเธอไปคุย และให้เธอออกจากงาน เหตุผลคือ ตั้งแต่เธอมาทำงานที่นี่บรรยากาศในที่ทำงานก็เปลี่ยนไป ทุกคนไม่พอใจที่มีเธออยู่... คนรักของเธอบอกเลิก.. พลังแห่งความกดดันจากชุมชนนั้นรุนแรงกว่าเดิมหลายเท่า มันไม่ใช่เรื่องตัวบุคคลแต่กลายเป็นเรื่องสถาบันครอบครัว
ท้ายที่สุด บิดาของยูโกะต้องจากไปอย่างสิ้นหวัง แต่ผลจากความตายนั้นกลับถูกคนในชุมชนใช้เป็นเครื่องมือ พวกเขาสร้างวาทกรรมในการโจมตียูโกะว่า ถ้าเธอไม่หาเรื่องไปเป็นอาสาสมัครในอิรัก พ่อเธอก็คงไม่ต้องจบชีวิตลงอย่างอดสูด้วยสิ่งที่ลูกสาวก่อเอาไว้




นี่เป็นเรื่องราวที่น่าสะทกสะท้อน ในการตั้งคำถามถึงจริยธรรมของสังคม ที่กระทำต่อคนที่ไม่มีทางต่อสู้ นอกจากนั้นยังได้เปิดเผยถึงด้านมืดของจิตใจมนุษย์ ความเน่าเฟะนั้นหาใช่เกิดจากพฤติกรรมเท่านั้นแต่มันได้สะท้อนทัศนคติที่ฝังอยู่ใต้จิตสำนึกของคนมากกว่า


Bashing เป็นหนังญี่ปุ่นเรื่องเดียวที่ได้รับเลือกให้เข้าฉายในสายประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ประจำปี 2005 และเป็นหนังเรื่องที่ 4 ของโคบายาชิ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นวัย 52 ปี ที่ได้รับเชิญให้ร่วมฉายที่เทศกาลหนังที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


............................................................................................


Yuko volunteered to be an aid worker in Iraq and was taken hostage there. When freed she returned to Japan, but after being home six months she is still the ongoing object of harassment from her own countrymen. A co-worker finds many angry postings on the Internet denouncing her and spreads them very vocally, causing her boss let her go. He tells her that the atmosphere at the hotel where she works as a chambermaid has changed negatively as a result. Several anonymous phones are made daily to her at home where she lives with her father and stepmother, saying that she is an embarrassment and disgrace to Japan. She is even harassed by strangers on the street after buying soup at a local convenience store, ruining her dinner. Her boyfriend dumps her, calling her actions as a volunteer in a foreign country selfish, that she should have stayed in Japan and only helped her own community. Yuko's father supported her decision to go to the Middle East, and he defends her actions after her return, but his company is also receiving threatening phone calls over his daughter's actions. At the loss of her father, she dreams of returning to the only place where she felt her life had meaning, where children greeted her warmly as she gave them Japanese treats. She realizes that staying in Japan might cause her to become as cold as those around her, simply to survive. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น