วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

TAKING WOODSTOCK อิสระภาพของดอกไม้




ปี 1969 .. ปี่ที่ดอกไม้ในหัวใจผู้คนเบ่งบาน
Elliot Teichber [Demetri Martin] นักออกแบบภายในจากกรีนวิช วิลเลจ ในนิวยอร์ก ลูกชายของครอบครัวชาวยิวที่มีโรงแรมบ้านนอกเก่าๆ เล็กๆ ร้างๆ "The El Monaco" ในเมือง Catskills ที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนเขาต้องทิ้งโอกาสและความก้าวหน้าจากงาน ในเมืองใหญ่ มาช่วยพยุงโรงแรม ของครอบครัวไม่ให้ถูกธนาคารยึด

วันหนึ่ง Elliot ได้เห็นข่าวว่าเมืองข้างๆ อย่าง Wallkill ยกเลิกสัญญาในการให้จัดมหกรรมดนตรีกลางแจ้งทั้งที่ทีมงานได้เตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว Elliot จึงเห็นว่าได้โอกาสที่จะหารายได้จากมหกรรมดนตรีกลางแจ้งนี้ Elliot จึงโทรศัพท์ติดต่อหา Micheal Lang ที่ Woodstock Ventures เพื่อเสนอโรงแรมของครอบครัวเป็นที่พักของทีมงานและให้ใช้ที่ดินผืนใหญ่หลังโรงแรมของเขาเป็นสถานที่จัดงานดนตรี Elliot เองในฐานะประธานหอการค้าของเมืองยังคิดว่านี่จะเป็นโอกาสช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ ที่กำลังซบเซาในเมืองเล็กๆนี้ให้ฟื้นตัวขึ้นอีกด้วย


แต่มันเป็นเรื่องตลกร้ายเหลือเกินเมื่อ ทุ่งหญ้าหลังโรงแรม (ที่เขาเข้าใจเอาเอง)ดันกลายเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ที่มีต้นหญ้าปกคลุมไว้จนทีมงาน Woodstock Ventures คิดถอนตัว Elliot จึงหาทางออกใหม่ด้วยการพาทีมงานไปรู้จักกับเพื่อนบ้านซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์มโคนมขนาดใหญ่หลายร้อยเอเคอร์ใน White Lake เลยถนนที่ผ่านหน้าโรงแรมเขาไปไม่ไกลนัก ชายคนนั้นชื่อว่า MAX YASGUR หลังจากนั้นเหล่าทีมงานก็เหมาโรงแรมของเขาเป็นที่พักและขนย้ายอุปกรณ์สร้างเวทีกลางแจ้ง สำหรับงานมหกรรมดนตรีและสันติภาพในเมือง White Lake 3 วัน 3 คืน โดยที่เขาไม่รู้และคาดคิดมาก่อนว่า งานเทศกาลครั้งนั้นกลายเป็นสัญญลักษณ์สำคัญของคนร่วมรุ่น ประวัติศาสตร์กำลังจะเกิดขึ้นของเขา และวัฒนธรรมอเมริกันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป


ในสังคมเล็กๆเช่นครอบครัวของ Elliot นั้น Woodstock กลายเป็นสิ่งที่ช่วยให้ครอบครัวของ Elliot ยังคงรักษาโรงแรมเก่าๆไว้ได้ไม่ถูกธนาคารยึดกิจการไป และสมาชิกในครอบครัวของเขาได้ค้นพบความเป็นตัวตนของแต่ละคนกันมากขึ้น 
แต่สำหรับ อเมริกัน ชน Woodstock กลายเป็นการเปิดประวัติศาสตร์เพลงร็อคหน้าใหม่ในอเมริกาอย่างยิ่งใหญ่ จนทำให้มีการจัดคอนเสิร์ตนี้เป็นประจำต่อเนื่องทุกปี กลายเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมป๊อปที่ยิ่งใหญ่ด้วยเสรีภาพและอิสระทางด้านดนตรี.. อิสระของการแสดงออก  "อิสระเสรีทางความรัก" ซึ่งกลายเป็นแรงผลักดันให้ Elliot ตัดสินใจเลือกทางเดินครั้งสำคัญในชีวิตอีกด้วย


Ang Lee เล่าเรื่องโดยมุ่งเน้นไปที่การดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว Elliot และภาพที่แสนวุ่นวายอลหม่านของผู้คนที่เดินทางเข้ามาดูดนตรี กับการเปิดเผยความเป็นโฮโมฯของ Elliot ดังนั้นหากคุณอยากชมเพื่อรับรู้ถึงประวัติศาสตร์การกำเนิดมหกรรมงานดนตรีที่ยิ่งใหญ่ ที่จะถ่ายทอดให้เห็นภาพการแสดงและภาพของความรู้สึกของผู้คนติดขอบเวทีนั้นคงจะต้องผิดหวัง

เพราะภาพผู้คนนับแสนและเวทีกลายเป็นจุดเล็กๆ เป็นเพียงฉากหลังอย่างหนึ่งเท่านั้น น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้กำกับและมือเขียนบทที่ต้องการให้ออกมาเป็นแบบนี้ และต้องการให้ต่างจากหนัง Woodstock (1970) ด้วยคำว่า Taking Woodstock ตัวหนังจึงออกมาดูสบายๆเป็น Happy Ending ที่เล่าถึงความตั้งใจของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ต้องการทำสิ่งตนเองหวังให้สำเร็จ พร้อมกับบอกเล่า ความศรัทธา ความรู้สึก จิตวิญญาณ ของผู้คนที่มาด้วยใจเพื่อได้เป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมดนตรีที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ แถมไม่วายที่จะเสียดสีบ้างเล็กน้อย กับมหกรรมสร้างสงครามในช่วงเวลานั้นของอเมริกาทั้ง สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนามที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับ มหกรรมดนตรีพอดิบดี


Demetri Martin เล่นได้ดีและเป็นเกย์ที่น่ารักมาก รวมทั้งตัวละครอีกหลายคนเช่น Henry Goodman กับ Imelda Staunton ในบทพ่อแม่ ของ Elliot ที่ เล่นได้ดีและช่วยสร้างสีสันให้กับหนัง
Emile Hirsch (into the wild) มาเล่นบทรับเชิญเป็นทหารผ่านศึกเพี้ยนๆ เพื่อนของ Elliot



วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

SLEEPERS มิตรภาพที่ข้นกว่าเลือด

 
 "Shakes", Michael Sullivan, John Reilly และ Tommy Marcano เด็กชายเพื่อนตาย 4 คน ซึ่งอาศัยอยู่ใน ย่าน Hell's Kitchen, New York เด็กทั้ง 4 ไม่ได้มีครอบครัวที่รำ่รวยและอบอุ่นนัก พวกเขาเติบโตขึ้น ท่ามกลางคำสอนของบุคคลที่อยู่ตรงข้ามกัน 2 ขั้ว คือ หลวงพ่อ Bobby (Robert De Niro) พระประจำท้องถิ่น และ KIng Benny (Vittorio Gassman) มาเฟียในย่านนั้น


เด็กทั้ง 4 คนได้รับ คำสอนและทัศนคติที่ทั้งดีและแปลกประหลาด รวมทั้งหารายได้พิเศษจากคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ไปพร้อมๆกัน โชคดีที่ทั้งพระและมาเฟีย ล้วนมีความรักอย่างจริงใจให้กับเด็กกลุ่มนี้
ฤดูร้อนของปี 1967 ในวันที่อากาศร้อนอบอ้าว เด็กชาย 4 คนกับอารมณ์คึกคะนองและการตัดสินใจที่ผิดพลาด พวกเขาขโมย hotdog จากรถเข็นขาย hotdog ริมถนน เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการที่ชายคนหนึ่งต้องบาดเจ็บสาหัสปางตาย  จากการที่ รถเข็นขาย hotdog พุ่งลงมาทับร่างของเขา
เด็กทั้ง 4 ถูกตัดสินให้เข้าไปอยู่ในโรงเรียนเยาวชน Wilkinson ….สถานที่ซึ่งเปลี่ยนชีวิตของพวกเขาไปตลอดกาล


ที่ โรงเรียน wilkinson พวกเขาต้องเผชิญกับความโหดร้าย ของ Sean Nokes ผู้คุมวิปริตกับพวกอีก 3 คน ซึ่งทำทุกอย่างทั้งทำร้ายร่างกาย และล่วงละเมิดทางเพศ กับเด็กผู้ชายในโรงเรียน แน่นอน ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ รวมทั้งเด็กชาย 4 คนจาก Hell's Kitchen เช่นกัน...

14 ปี ต่อมา John Reilly กับ Tommy Marcano กลายเป็นสมาชิกของแก็งค์ มาเฟีย ทั้ง 2 พบกับ Sean Nokes ชายผู้เปลี่ยนชะตาชีวิตของพวกเขา ที่ร้านอาหาร Hell Kitchen ถิ่นของพวกเขาเอง ด้วยความแค้นที่ถูกฝังอยู่ในใจของทั้งคู่ John และ Tommy ไม่รีรอที่จะชำระหนี้แค้นนี้ซะ พวกเขาค่อยๆฝังกระสุนทีละนัด ทีละนัด จน Sean Nokes ตายคาที่ ณ ร้านอาหารแห่งนั้น

ทั้งสองถูกนำตัวขึ้นศาลข้อหาฆาตกรรม ซึ่งการขึ้นศาลครั้งนี้เองได้เปิดโอกาสให้ Shakes และ Michael ได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง และร่วมมือกันลบล้างอดีตอันแสนปวดร้าวที่ยากจะลืม…



ตัวละครเพื่อนทั้งสี่คนต่างมี Character ที่แตกต่างกัน อย่างเช่น Michael มักเป็นหัวโจกของกลุ่ม ที่หลังออกจากโรงเรียนเยาวชนเขาไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจที่จะ "เอาคืน" ผู้คมทั้งสี่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานกี่ปีแล้วก็ตาม แตกต่างจาก Shakes ที่ดูเหมือนจะทำใจกับเหตุการณ์ฝันร้าย ณ โรงเรียนแห่งนั้น และพยายามที่จะ "ลืม" มันไปซะ ส่วน John และ Tommy กลายเป็นคนมุทะลุ ไม่ยอมใคร และทำงานให้กับแกงค์มาเฟียอย่างเต็มตัว ทั้งๆที่พวกเขาอาจจะเป็นพระ หรือศิลปินวาดรูปตามที่เคยใฝ่ฝันไว้เมื่อตอนเป็นเด็กก็ตามที

Sleepers ถ่ายทอด ผ่านสายตาของ Shakes (Lorenzo Carcaterra) หนึ่งใน 4 ตัวละครหลัก ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้ โดยเขากล่าวว่า เรื่องรางราวเหล่านี้อิงจากชีวิตจริงของเขา
… Barri Levinson ( Rain Man) เล่าเรื่อง style เนิบนาบ แต่ ทรงพลัง ร่วมกับ casting  ที่ยอดเยี่ยม การถ่ายภาพที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตของ ผู้คนในย่าน hell kitchen ได้อย่างสวยงาม

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

BASHING คนดีที่ไร้แผ่นดิน


ยูโกะ  หญิงสาวชาวญี่ปุ่น ที่เป็นอาสาสมัครไปช่วยเพื่อนมนุษย์ที่ได้รับผลจากสงครามที่อิรัก แต่แล้วเธอกลับถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายจับเป็นตัวประกันในระหว่างปฏิบัติหน้าที่

     ครอบครัวและเพื่อนร่วมชาติเตรียมอกเตรียมใจไว้แล้วว่า หญิงสาวคงจะถูกฆ่าตายเหมือนตัวประกันหลายต่อหลายรายที่เคยตกเป็นข่าว    ...แต่ก็เปล่า
6 เดือนหลังจากนั้น ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น ยูโกะ รอดชีวิตและถูกส่งตัวกลับบ้านเกิด ก่อนกลับบ้าน ยูโกะคงจะคาดหวังอะไรไว้หลายอย่าง เธอคงรู้สึกขอบคุณพระเจ้าหรือใครก็ตามที่อนุญาตให้เธอยังมีชีวิตอยู่ และเธอคงจะฝันถึงอนาคตงดงามที่รอคอยเธออยู่ที่บ้านเกิด

     อย่างไรก็ตาม เพียงไม่นานหลังกลับถึงบ้าน หญิงสาวก็ตระหนักว่า สิ่งที่เคยคาดเคยฝันไว้นั้นผิดทั้งหมด ที่ญี่ปุ่นแผ่นดินเกิดของเธอเอง แทบไม่มีใครสักคนแสดงความยินดีที่ยูโกะยังมีชีวิตอยู่  ตรงกันข้าม ใครต่อใครเห็นตรงกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางนั้น ยูโกะ แส่หาเรื่องเอง เธอไม่สมควรไปที่นั่นแต่แรก เพราะรัฐบาลก็ประกาศเตือนอยู่แล้ว และการที่ยูโกะรอดตายก็ได้สร้างความอับอายแก่ประเทศชาติ ทุกคนลงความเห็นว่ายูโกะทำให้ประเทศชาติต้องด่างพร้อย และยังพลอยทำให้เพื่อนร่วมชาติต้องขายขี้หน้าคนชาติอื่นไปด้วย


เลวร้ายกว่านั้น ยูโกะถูกก่นด่าประณาม ถูกโทรศัพท์ลึกลับก่อกวนรังควาญ มีเพียงบิดาของเธอที่เข้าใจและสนับสนุนเธอ แต่คน 2 คนไม่สามารถสู้เสียงคนหมู่มากในชุมชนได้ และ วันหนึ่งเจ้านายก็เรียกเธอไปคุย และให้เธอออกจากงาน เหตุผลคือ ตั้งแต่เธอมาทำงานที่นี่บรรยากาศในที่ทำงานก็เปลี่ยนไป ทุกคนไม่พอใจที่มีเธออยู่... คนรักของเธอบอกเลิก.. พลังแห่งความกดดันจากชุมชนนั้นรุนแรงกว่าเดิมหลายเท่า มันไม่ใช่เรื่องตัวบุคคลแต่กลายเป็นเรื่องสถาบันครอบครัว
ท้ายที่สุด บิดาของยูโกะต้องจากไปอย่างสิ้นหวัง แต่ผลจากความตายนั้นกลับถูกคนในชุมชนใช้เป็นเครื่องมือ พวกเขาสร้างวาทกรรมในการโจมตียูโกะว่า ถ้าเธอไม่หาเรื่องไปเป็นอาสาสมัครในอิรัก พ่อเธอก็คงไม่ต้องจบชีวิตลงอย่างอดสูด้วยสิ่งที่ลูกสาวก่อเอาไว้




นี่เป็นเรื่องราวที่น่าสะทกสะท้อน ในการตั้งคำถามถึงจริยธรรมของสังคม ที่กระทำต่อคนที่ไม่มีทางต่อสู้ นอกจากนั้นยังได้เปิดเผยถึงด้านมืดของจิตใจมนุษย์ ความเน่าเฟะนั้นหาใช่เกิดจากพฤติกรรมเท่านั้นแต่มันได้สะท้อนทัศนคติที่ฝังอยู่ใต้จิตสำนึกของคนมากกว่า


Bashing เป็นหนังญี่ปุ่นเรื่องเดียวที่ได้รับเลือกให้เข้าฉายในสายประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ประจำปี 2005 และเป็นหนังเรื่องที่ 4 ของโคบายาชิ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นวัย 52 ปี ที่ได้รับเชิญให้ร่วมฉายที่เทศกาลหนังที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


............................................................................................


Yuko volunteered to be an aid worker in Iraq and was taken hostage there. When freed she returned to Japan, but after being home six months she is still the ongoing object of harassment from her own countrymen. A co-worker finds many angry postings on the Internet denouncing her and spreads them very vocally, causing her boss let her go. He tells her that the atmosphere at the hotel where she works as a chambermaid has changed negatively as a result. Several anonymous phones are made daily to her at home where she lives with her father and stepmother, saying that she is an embarrassment and disgrace to Japan. She is even harassed by strangers on the street after buying soup at a local convenience store, ruining her dinner. Her boyfriend dumps her, calling her actions as a volunteer in a foreign country selfish, that she should have stayed in Japan and only helped her own community. Yuko's father supported her decision to go to the Middle East, and he defends her actions after her return, but his company is also receiving threatening phone calls over his daughter's actions. At the loss of her father, she dreams of returning to the only place where she felt her life had meaning, where children greeted her warmly as she gave them Japanese treats. She realizes that staying in Japan might cause her to become as cold as those around her, simply to survive.