วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

THE KITE RUNNER มิตรภาพ การทรยศ ความผิดบาป


"There is a way to be good again"
THE KITE RUNNER ถ่ายทอดเรื่องราว วัฒนธรรม และ ความรันทดของผู้คนในแผ่นดินที่ระอุด้วยไฟสงคราม ฉากหน้าของสงครามโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน และการเถลิงอำนาจของกลุ่มตาลีบัน ยังมีเรื่องราวของมิตรภาพ การทรยศหักหลัง ความผิดบาป และความสัตย์ซื่อของเด็กชาย 2 คน แห่งคาบูล 
อันตอกยำ้ด้านมืดของจิตใจมนุษย์

ยี่สิบหกปีที่แล้วที่ยังไม่มีคำว่ารัสเซียหรือตาลีบันให้รู้จัก ไม่มีเสียงปืนและเด็กไร้บ้านในยามค่ำคืน เป็นช่วงเวลาที่ท้องฟ้าสดใส ยังเต็มไปด้วยว่าวหลากสีล่องลอยอยู่กลางกระแสลม ดอกไม้ยังบานสะพรั่งตามท้องถนนของกรุงคาบูล เด็กๆยังวิ่งเล่นในฤดูร้อนบนสนามหญ้าและนั่งเล่นการ์ดข้างเตาผิงยามหิมะตก และครั้งหนึ่งในโมงยามเหล่านั้น บนเนินเขา มีเด็กน้อยชื่ออาเมียร์กับฮัซซันนั่งเคียงกันใต้ต้นไม้ใหญ่ อ่านหนังสือและเล่านิทาน พร้อมกับแทะผลทับทิมไปด้วยกัน

Amir and Hassan . The Sultans of Kabul’



อาเมี่ยร์และฮัสซัน คือ เด็กชายใน คาบูล ที่เติบโตขึ้นมาในบ้านหลังเดียวกัน ดื่มนมจากแม่นมคนเดียวกัน
แต่ถึงแม้จะอยู่ในอาณาเขตบ้านเดียวกัน แต่ชีวิตของพวกเขาอยู่คนละโลก อาเมียร์เป็นบุตรเจ้าบ้านผู้รำ่รวย แต่ฮ้สซันเป็นบตรของคนใช้ชาวซาฮารา ซี่งน่าเยาะหยันทั้งหน้าตาและชาติกำเนิด  แต่ความอัปลักษณ์นั้นไมาสามารถสดคุณค่า ความเป็นเพื่อน ความซื่อสัตย์และความเป็นบ่าวที่จงรักภักดีที่เขามีต่อ อาเมียร์ได้  อาเมียร์นั้นเป็นเด็กขี้ขลาด ฮัสซันที่อยู่ในฐานะลูกคนใช้ในบ้าน กลับเป็นคนที่กล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว และคอยปกป้องช่วยเหลืออาเมียร์ เขาจงรักภักดีต่ออาเมียร์เป็นอย่างมาก ... เวลาที่ทั้งสองไปเล่นว่าว และมีว่าวสายขาดปลิวไปตก ฮัสซันจะเป็นคนวิ่งไปเก็บมาให้ เขาบอกกับอาเมียร์อยู่เสมอว่า 
“ถ้าคุณต้องการ จะให้วิ่งสักพันรอบ ผมก็จะทำ”


บ่ายวันท้องฟ้าสดใสในเมืองคาบูล ทั้งคู่เข้าแข่งในเทศกาลประกวดว่าว และสามารถเฉือนตัดว่าวสีน้ำเงินคู่แข่งสำคัญในรอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ ฮัสซานวิ่งออกไปเก็บว่าวสีน้ำเงินเป็นของขวัญมาให้เพื่อนและนายของเขา ฮ้สซันหายไปพักใหญ่อาเมียร์รู้สึกผิดสังเกตจึงเดินออกไปตามหาฮัสซาน ตามซอยเปลี่ยว... แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น และในเวลาต่อมา เปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กทั้ง 2 ไปตลอดกาล...
เด็กคนหนึ่งจมอยู่ในความรู้สึกผิดบาป กับการทรยศการหักหลังเพื่อนอันเป็นตราบาปที่ติดตรึงอยู่ในใจไปชั่วชีวิต
ต่อมา เมื่อกองทัพรัสเซียได้เข้ามายึดอำนาจการปกครองจากระบอบกษัตริย์ของอัฟกานิสถาน บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย พ่อและอาเมียร์ต้องอพยพออกจากประเทศหนีไปอย่างฉุกละหุก 
หลังจากที่ใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกามา 20 ปีกว่า อาเมียร์เดินทางกลับไปยังอัฟกานิสถานที่เต็มไปด้วยอันตราย ภายใต้การปกครองด้วยกฎเหล็กของกลุ่มตาลิบัน สิ่งเดียวที่เขาพอจะทำได้ไม่ใช่การกลับไปไถ่บาปกับเหตุการณ์ในวันนั้น แต่เป็นการกล้าที่จะเผชิญกับอดีตของตัวเขาเองที่เคยกลบฝังมันเอาไว้ กล้าที่จะยกโทษให้ความผิดบาปทั้งหลายที่ตัวเองและใครๆเคยก่อ และกล้าที่จะยืนหยัดเพื่อคนอื่นอย่างที่พ่อเขาเคยคาดหวังให้เขาเป็นมาตลอด 

อาเมียร์กำลังวิ่งกลับไป .. เพื่อเก็บว่าวสีนำ้เงินตัวนั้นในแผ่นดินเกิดของเขา….


The Kite Runner ไม่ได้เล่าเรื่องย้อนอดีตแบบ "วัยเด็กอันแสนสดใสงดงาม" แต่กลับเป็น อดีต ที่เต็มไปด้วยความรันทด ความเจ็บปวด ความรู้สึกละอายต่อบาป ที่ตามหลอกหลอน และความผิดที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กทั้ง 2 อย่างไม่มีวันย้อนกลับไปแก้ไขได้อีก 

“เราคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงผลกระทบของมันได้” .... เหตุการณ์ในอดีตเป็นสิ่งที่เกิดไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เราย่อมย้อนเวลาไปแก้ไขมันไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงผลกระทบของมันได้ เราสามารถทำให้เราเจ็บปวดน้อยลง รู้สึกผิดน้อยลง โกรธน้อยลง กลัวน้อยลง แต่มีพลังชีวิตมากขึ้น รักตัวเองมากขึ้นได้ หากเพียงแต่เราเข้าใจ ยอมรับและสามารถจัดการกับใจของเราเอง การเปลี่ยนแปลงย่อมเป็นไปได้เสมอ


“We cannot change past events; we can only change the impact that the past events have had on us” 




.......................................................................................................................
The Kite Runner is a 2007 drama film directed by Marc Forster (Monster's Ball,Finding Neverland) based on the novel of the same name by Khaled Hosseini.... It tells the story of Amir, a well-to-do boy from the Wazir Akbar Khan district of Kabul, who is tormented by the guilt of abandoning his friend Hassan, the son of his father's Hazara servant. The story is set against a backdrop of tumultuous events, from the fall of the monarchy in Afghanistan through theSoviet invasion, the mass exodus of Afghan refugees to Pakistan and the United States, and the Taliban regime.


Though most of the film is set in Afghanistan, these parts were mostly shot in KashgarChina, due to the dangers of filming in Afghanistan at the time. the majority of the film's dialogue is in Dari, with the remainder spoken in English. The child actors are native speakers, but several adult actors had to learn Dari. Filming wrapped up on December 21, 2006, and the film was expected to be released on November 2, 2007. However, after concern for the safety of the young actors in the film due to fears of violent reprisals to the sexual nature of some scenes in which they appear, its release date was pushed back six weeks to December 14, 2007.
The film was nominated for the Golden Globe Award for Best Foreign Language Film in 2007. The film's score by Alberto Iglesias was nominated for Best Original Score at the Golden Globes and the Academy Awards

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

THE LIVES OF OTHERS ชีวิตเป็นของใคร ?



The Lives of Others เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในเยอรมันตะวันออก 5 ปี ก่อนการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินเยอรมันตะวันออกกับเยอรมันตะวันตกหลอมรวมเป็นชาติเดียวกัน ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นทางฝั่งตะวันออกนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนโดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพซึ่งถือครองโดยรัฐ และถูกกำกับโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล ที่คอบสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังการกระทำอันเป็นภัยต่อระบอบสังคมนิยมในขณะนั้น บ้านเมืองเต็มไปด้วยหูตานับล้านคู่ที่คอยจับจ้องพฤติกรรม การแสดงออก หรือแม้แต่การสนทนาเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีใครจะรอดพ้นไปจากสายตาเจ้าหน้าที่ของหน่วยสตาซี่ได้ หากตรวจสอบแล้วพบว่าบุคคลผู้นั้นมีความน่าจะเป็นในการบ่อนทำลายรัฐ ก็จะถูกเจ้าหน้าที่ดักฟังตลอด 24 ชั่วโมง



   เจ้าหน้าที่วีลเลอร์ ผู้ชำนาญการดักฟังและการสอบสวนชนิดหาตัวจับยาก ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ดักฟังชายหนุ่มนักเขียนคนหนึ่งชื่อ เกิร์ก ดรายมัน ผู้กำลังซ่องสุมเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างลับๆ เกิร์กมีคนรักคือคริสต้า มาเรีย ซีลัน ซึ่งเป็นนักแสดงมากพรสวรรค์และความสามารถในขณะนั้น ทั้ง 2 อาศัยอยู่ด้วยกัน วีลเลอร์ดักฟังทุกถ้อยสนทนาในชีวิตของคนทั้งคู่เพื่อสกัดข่าวสารอันส่งสัญญาณถึงฐานความผิดต่อรัฐ เพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชา และแน่นอนภาพชีวิตหลากหลายของทั้งเกิร์กและคริสต้า รวมทั้งเพื่อนๆ ผู้คบหาสมาคมกับพวกเขา นอกจากจะไม่รอดพ้นจากการเฝ้าสังเกตของวีลเลอร์แล้วตัวเขาเองยังได้ซึบซาบความเป็นชีวิตที่ต้องดิ้นรนในฐานะศิลปิน และความเป็นมนุษย์ในฐานะพลเมืองเข้ามาไว้กับตัว ราวกับการเป็น "ผู้ชม" ที่เฝ้าดูละครชีวิตที่โลดแล่นอยู่ตรงหน้า

วีลเลอร์จากเมื่อแรกเห็นเขาเป็นเจ้าหน้าที่เถรตรง ไม่วอกแวก ปลอดอารมณ์ความรู้สึก มาถึงตอนนี้ความเป็นมนุษย์ในตัวเขากลับเริ่มมีมากขึ้น เขาดักฟังคนทั้งคู่ประหนึ่งผู้ชมที่รอลุ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป และไม่นานสถานภาพ "ผู้ชม" ที่เขามีกลับขยับขึ้นเป็น "ผู้กำกับ" เมื่อวีลเลอร์แอบรู้เห็นเป็นใจช่วยเหลือคนทั้งคู่อย่างลับๆ ให้รอดพ้นจากสายตาผู้บังคับบัญชา เขาปกปิดข้อมูลที่ควรจะแจ้ง ยักย้ายหลักฐานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเขาตรวจไม่พบ



ท่ามกลางความเป็นความตายของคนทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายศิลปินและฝ่ายรัฐบาล วีลเลอร์กลายเป็นตัวกลางที่มองเห็นทั้งความฉ้อฉลและความทุกข์ขมขื่นอันปนเป มองเห็นละครชีวิตของทั้งสองฝ่าย และสุดท้ายเขาก็เลือกเอาใจช่วยเหลือฝ่ายหนึ่ง โดยไม่สนใจว่าตนจะต้องรับผลแห่งการกระทำอย่างทุกข์ทรมานมากเพียงใด

การเข้ามาดักฟังซึ่งพัฒนาไปสู่การเขียนชะตาชีวิตใหม่ให้กับคู่รักอย่างคริสต้าและเกิร์กของวีลเลอร์ ไม่เพียงยกสถานะให้เขาเป็นเทพผู้พิทักษ์ชีวิตคนคนหนึ่งเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นแรงดลใจให้กับเกิร์กศิลปินผู้สร้างงานซึ่งต่อมาได้รับรู้ความจริงว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีิวิตของตนเอง

THE LIVES OF OTHERS คือหนังที่พูดถึงมิตรภาพและการส่องทางให้แก่กันและกัน แต่มิตรภาพนั้นเกิดขึ้นจากคนต่างฝ่ายในฐานะที่เป็นศัตรูกันด้วยซ้ำ และแรงดลใจนั้นก็ไม่ได้เกิดจากมิตรใกล้ตัวหากแต่เป็นกัลยาณมิตรที่ไม่เคยพบหน้า เป็นดั่งแสงส่องทางให้แก่กันและกัน มากไปกว่านั้นหนังพยายามตั้งคำถามเชิงปรัชญาด้วยซำ้ไปว่า หากไม่มีสีดำเราก็ไม่รู้ว่าสีขาวเป็นเช่นไร และที่จริงแล้วทุกงานศิลปะที่ล้ำเลิศของศิลปินล้วนได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจอย่างแสนสาหัสทั้งนั้น ก่อนที่จะรู้จักคำว่าสร้างสรรค์

THE LIVES OF OTHERS หรือ ชื่อในภาษาเยอรมัน LA VIDA DE LOS OTROS เอาชนะรางวัล
หนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม Academy Award ในปี 2007


....................................................................................


East Berlin, November 1984. Five years before its downfall, the former East-German government ensured its claim to power with a ruthless system of control and surveillance. Party-loyalist Captain Gerd Wiesler hopes to boost his career when given the job of collecting evidence against the playwright Georg Dreyman and his girlfriend, the celebrated theater actress Christa-Maria Sieland. After all, the "operation" is backed by the highest political circles. What he didn't anticipate, however, was that submerging oneself into the world of the target also changes the surveillance agent. The immersion in the lives of others--in love, literature, free thinking and speech--makes Wiesler acutely aware of the meagerness of his own existence and opens to him a completely new way of life which he has ever more trouble resisting. But the system, once started, cannot be stopped. A dangerous game has begun. 





วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

THE LITTLE TRAITOR มิตรภาพต่างสายพันธ์ุ



“My enemy was much more friend of mine, than my friends”


The Little Traitor หนัง coming of age จาก Israel ซึ่งสร้างจากหนังสืิอเรื่อง Panther in the Basement
เหตุการณ์ในภาพยนตร์ ย้อนไปในปี 1947 ซึ่งเป็นช่วงหนี่งปีก่อนที่ Israel จะประกาศอิสรภาพ

หนังโฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ทหารชาวอังกฤษ (Alfred Molina) กับเด็กชายชาวยิว(Ido Port) ในเริ่มแรกความสัมพันธ์ของทั้งคู่เริ่มต้นไม่ดีสักเท่าไหร่ เนื่องจากขณะนั้นชาวยิวส่วนมากคิดว่ากองทัพอังกฤษเป็นผู้รุกรานและเข้าครอบครองแผ่นดินของพวกเขา กองทัพอังกฤษก็สงสัยว่าชาวยิวเป็นผู้ก่อการร้าย วันหนึ่งเด็กชายชาวยิว Proffy Liebowitz เกิดกลับบ้านไม่ทันเวลาเคอร์ฟิวที่อังกฤษประกาศใช้จนถูกทหารอังกฤษจับตัว แต่โชคดีที่ทหารคนนั้นคือ จ่า Dunlop ที่ไม่เพียงไม่ลงโทษแต่กลับพาเขาไปส่งถึงบ้านอย่างดี แม้ตอนแรก Proffy จะไม่ถูกชะตากับจ่าผู้นี้เพราะเห็นว่าเป็นทหารอังกฤษ เป็นผู้บุกรุกบ้านเกิดของเขา แต่ด้วยความที่จ่า Dunlop ปฏิบัติต่อเด็กน้อยด้วยความเสมอภาค ไม่เหมือนภาพทหารอังกฤษที่แสนโหดร้ายอย่างในความคิดของเด็กชาย

ทำให้ทั้งคู่ได้เริ่มต้นสานสัมพันธ์ จากการสอนจ่าให้พูดภาษาฮิบรู การเล่นหมากรุก เล่นสนุ๊กเกอร์ ไปจนถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่วัฒนธรรมของชาวยิว ความเชื่อในพระคัมภีร์ไปจนถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของชาติตะวันตก และรวมไปถึงเรื่องของความรัก ที่ด้วยวัยของ Proffy กำลังอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เขาเริ่มที่จะสนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น และใฝ่หาใครสักคนที่พร้อมจะอยู่เคียงข้างและรับฟังสิ่งๆต่างๆจากเขาทดแทนพ่อแท้ๆของเขาที่มีบุคลิกเย็นชาและห่างเหิน แม้ไม่มีใครรู้แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ดำเนินไปด้วยดี จนกระทั่งวันหนึ่งเพื่อนสนิทของ Proffy ได้แอบตามเขาไปจนพบและเข้าใจว่าเด็กชายกำลังคบหาอยู่กับ "ศัตรู" ของพวกเขา และประฌามเด็กน้อยว่าเป็นคนทรยศ 


เรื่องราวบานปลายถึงขนาดที่ Proffy ต้องถูกนำตัวขึ้นไต่สวนในศาลของชาวยิว แม้เขาจะเป็นเพียงเด็กชายวัย 12 ปีคนหนึ่งก็ตาม 

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

KOKTEBEL ศรัทธาที่สูญสิ้น



Koktebel เล่าเรื่องของพ่อกับลูกชาย วัย 11 ขวบ ที่เดินทางร่อนเร่จาก Moscow สู่ Koktebel อันเป็นจุดหมายปลายทางซึ่งพี่สาวของพ่อได้อาศัยอยู่ Koktebel เป็นภาษาของชาวตาตาร์ซึ่งเป็นผืนแผนดินที่พำนักพักพิงของพวกเขาใน Krimea อยู่ติดกับทะเลดำ เมื่อชาวตาตาร์ถูกขับไล่หลังสงครามพื้นที่กว้างตรงนั้นก็กลายเป็นฐานอากาศยาน (บิดาของเขากล่าวว่า "ที่ตรงนั้นกระดาษแผ่นหนึ่งสามารถปลิวร่อนไปได้ไกลหลายไมล์" ) การเดินทางครั้งนี้กินระยะเวลายาวนาน ทั้งการเดินเท้า โบกรถ ระหว่างนั้นพวกเขาก็รับจ้างทำงานตามสถานที่ต่างๆเพื่อแลกกับอาหารและที่พักในแต่ละวัน ตลอดการเดินทางนั้นเด็กชายมีบิดาคอยปกป้องคุ้มครองเป็นแบบอย่างในชีวิตและบอกเล่าเรื่องราวความฝันของจุดหมายปลายทาง เด็กชายได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตโดยตรงจากการทำงานกลางแจ้งและความรู้ต่างๆเกี่ยวกับโลกผ่านทางพ่อของเขา อีกทั้งเด็กชายยังมีสัมผัสพิเศษคือเขาสามารถมองเห็นตำแหน่งที่เขายืนอยู่ได้จากมุมมองเบื้องบน สิ่งนี้เชื่อมโยงเด็กชายเข้ากับจิตวิญญาณของนก Albatros เด็กชายนี้เติบโตมากับความฝันเช่นนี้โดยที่เขาหวังว่าวันที่ไปถึง Koktebel เขาจะได้พิสูจน์การโบยบินของตัวเองเหมือนนก Albatros



แต่การเดินทางนั้นยาวนานความฝันและศรัทธาในตัวบิดาเริ่มลดทอนลงเรื่อยๆจากสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของพ่อเขาเอง อย่างไรก็ตามเมื่อความศรัทธาในตัวบิดาสิ้นลง เด็กชายเดินทางโดยลำพังสู่ดินแดนในฝัน แต่แล้วจิตวิญญาณเสรีพร้อมโบยบินของเขาก็ถูกคว้านเป็นรูโหว่ เมื่อกระดาษแผ่นหนึ่งไม่สามารถร่อนไปได้ไกลจริงอย่างที่บิดาของเขากล่าวไว้ และป้า (พี่สาวของพ่อ) ก็ได้ย้ายไปอยู่ไซบีเรียแล้ว

จุดหมายที่เหมือนจะไปไม่ถึงจุดสิ้นสุดบวกกับความฝันที่ถูกทำลายทำให้บางสิ่งบางอย่างในตัวเด็กชายสูญหายไป และไม่อาจเป็นเหมือนเดิมได้อีก ภาวะสูญสิ้นดังกล่าวนำพาสู่การทำลายล้างความฝันด้วยมือของตัวเด็กชายเอง อันเป็นฉากตอนท้ายที่ทรงพลังและทดท้อใจอย่างมาก



Koktebel เป็นหนังที่สงบนิ่งแต่ทรงพลังตามแบบฉบับหนังรัสเซีย ความสัมพันธ์ของบิดาและบุตรคู่นี้สร้างความสะทกสะท้อนถึงจิตวิญญาณที่สูญหายทั้งในฐานะตัวบุคคลและสังคมโดยรวม หนังเล่าเรื่องด้วยเรื่องราวอันน้อยนิดแต่คิดความมหาศาลมาพร้อมกับการแสดงอันยอดเยี่ยม เป็นหนังรัสเซียที่ควรค่าแก่การชม

Koktebel ชนะรางวัล Special Jury Prize จาก Moscow International Film Festival 2003 และ ชนะรางวัล Best Actor และ Grand Jury Prize จาก Cinemanila International Film Festival 2004